• ใบอนุญาตทำงาน
  • Thanakrit Law Office
  • รับว่าความ
  • Legal Service
  • จดทะเบียนบริษัท
  • Company Registration
  • เครื่องหมายการค้า
  • Thai Visa
  • Patent Trademark
  • สิทธิบัตร
  • Work Permit
  • ลิขสิทธิ์
  • Patent
  • ขอวีซ่า
  • Copyright
Which KITTILAW.COM do you want to visit?

หน้าแรก ไทย


สำนักงานกฏหมายธนกฤตและเพื่อน


เราเป็นตัวแทนรับจดทะเบียน สิทธิบัตร/การประดิษฐ์/การออกแบบผลิตภัณฑ์ และเครื่องหมายการค้าลิขสิทธิ์

1. รับปรึกษาอรรถคดีและว่าความทั่วราชอาณาจักร  คดีแพ่ง

2. รับปรึกษาอรรถคดีและว่าความทั่วราชอาณาจักร  คดีอาญา

3. ฟ้องและสู้คดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัว

4. รับจดทะเบียนธุรกิจทุกประเภท จัดตั้งบริษัทห้างหุ้นส่วน

5. รับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงบริษัทจำกัด 

6. รับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงห้างหุ้นส่วนจำกัด

7. รับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 

8. รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า  ลิขสิทธิ์  สิทธิบัตร 

9. รับขอใบอนุญาตตั้งโรงงานต่ออายุโรงงานใบอนุญาตมาตรฐานสินค้า

10. รับขอใบอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว วีซ่าและต่ออายุหนังสือเดินทาง 

11. รับขอใบต่างด้าวหรือถิ่นที่อยู่ถาวรของคนต่างด้าว

12. รับขอใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ต่ออายุวีซ่า)

13. คนต่างด้าวขอแปลงและโอนสัญชาติเป็นคนไทย 

14. ต่างด้าวพิสูจน์สัญชาติเป็นคนไทย 

15. ติดต่อหน่วยงานราชการ

16. รับทำบัญชีและตรวจสอบบัญชี 

17. รับเป็นนายหน้าซื้อขายที่ดิน 

18. ร่างนิติกรรมสัญญา

19. ขอรับการส่งเสริมการลงทุน (B.O.I) 

20. เป็นทนายที่ปรึกษาฯลฯ


ความรู้เรื่องคำพิพากษา ฎีกา

การซื้อขาย(มาตรา 453-490)

คำพิพากษาฎีกาที่ 1447/2541 แม้เอกสารที่โจทย์และจำเลยร่วม จะเรียกชื่อเป็นสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสินค้าทางวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ของกรมประชาสัมพันธ์แต่การที่โจทย์ไม่ได้ส่งรับมอบทรัพย์สินใดให้แก่จำเลยร่วมเพื่อให้จำเลยร่วมได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินใดเลย การจัดรายการและโฆษณาสินค้าของจำเลยร่วมตามที่ตกลงกับโจทก์นั้น ฝ่ายโจทก์เป็นผู้ดำเนินการหรือบริการให้ทั้งสิ้น แม้จำเลยร่วมจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินแก่โจทก์เพื่อการนั้นก็ตาม 

สัญญาที่จำเลยร่วมตกลงเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสินค้าทางสถานีฯจากโจทก์ จึงมิใช่สัญญาเช่าทรัพย์ หากแต่เป็นสัญญาที่ตกลงให้บริการออกอากาศกระจายเสียงและแพร่ภาพทางสถานีฯของโจทก์ ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานดังกล่าวให้จำเลยร่วมเท่านั้น เมื่อนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมไม่ใช่การเช่าทรัพย์ การที่โจทก์เรียกเอาค่าตอบแทนการจัดรายการและโฆษณาสินค้าตามที่ตกลงไว้กับจำเลยร่วม จึงมิใช่เป็นการเรียกเอาค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ตาม ป...มาตรา 193/34(6) ผู้ขายไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายในขณะทำสัญญา แต่ต้องสามารถโอนกรรมสิทธ์ทรัพย์ที่ขายให้กับผู้ได้(ดูฎีกาที่ 3763/2542)

คำพิพากษาฎีกาที่ 3763/2542 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยอมตกลงทำสัญญาขายรถยนต์พิพาทให้โจทย์นำไปให้  ส.เช่าซื้ออีกต่อหนึ่งนั้นเป็นวิธีการทำธุรกิจอย่างหนึ่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 และโจทย์เคยปฏิบัติต่อกั่นมาหลายครั้งแล้ว ดังนั้นแม้โจทย์จะทราบว่าจำเลยที่ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์พิพาทขณะทำสัญญาซื้อขายรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยที่ ก็ต้องผูกพันตามสัญญาที่ได้แสดงเจตนาออกมานั้น จะอ้างว่าเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับโจทย์เพื่อลวงหรือหลอกให้ผู้อื่นหลงผิดไม่ได้ เพราะผู้ขายไม่จำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะทำสัญญาซื้อขาย

คำพิพากษาฎีกาที่ 519/2541 ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีข้อสัญญาใดระบุหน้าที่จำเลยว่าเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ให้โจทก์ การที่สำงานขายจำเลยมีโฆษณาของสถาบันการเงินที่จะต่างๆ ชักชวนให้ลูกค้าจำเลยไปกู้ยืมเงินถือเป็นเรื่องของสถาบันการเงินที่จะโฆษณาหาลูกค้า หามีผลผูกพันให้จำเลยต้องจักหาสถาบันการเงินให้โจทก์ไม่ แม้พนักงานของจำเลยจะเรียกหลักฐานจากโจทก์เพื่อติดต่อสถาบันการเงินให้โจทก์ ก็เป็นเรื่องให้ความสะดวกแก่โจทก์ เพื่อประโยชน์แก่การขายอาคารชุดของจำเลยมากกว่าที่จำเลยจะผูกพันในรูปสัญญาจะจักหาแหล่งเงินกู้ให้โจทก์ ส่วนเอกสารที่สถาบันการเงินมีถึงจำเลย แสดงความยินดีสนับสนุนลูกค้าที่ซื้ออาคารชุดจำเลย ก็ไม่ใช่เอกสารที่ผูกพัน จะฟังได้ว่าจำเลยมีสัญญาจัดหาแหล่งเงินกู้ให้โจทก์

คำพิพากษาฎีกาที่ 76/2496 เป็นเรื่องการซื้อขายรถยนต์ ซึ่งผู้ขายได้ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อว่าส่งมอบไม่พอ ต้องไปรับรองที่กองทะเบียนกรมตำรวจด้วยว่าขายรถยนต์ให้ผู้ซื้อแล้วเพื่อจะได้จดทะเบียนในสมุดคู่มือรถยนต์ให้โอนมาเป็นชื่อของ ทางฝ่ายผู้ซื้อ  ผู้ขายไม่ยอม ไปอ้างว่าหน้าที่ในการซื้อขายมีแค่โอนกรรมสิทธิ์กับส่งมอบจบแล้ว ศาลฎีกาบอกไม่ใช่ นอกจากจะต้องส่งมอบรถยนต์แล้วทางฝ่ายผู้ขายยังมีหน้าที่ต้องไปรับรองต่อกองทะเบียนยานพาหนะ กรมตำรวจด้วยว่าได้โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อแล้ว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้รับจดทะเบียนจะไม่ใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ก็เป็นการจำเป็นแก่การที่จะใช้รถยนต์นั้นหน้าที่ประการอื่นของผู้ขาย ก็เป็นหน้าที่ตามสัญญาเช่นว่าขายบ้านแล้วทางฝ่ายผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันว่าผู้ขายจะต้องทาสีบ้านใหม่จากสีขาวเป็นสีเหลือง คือเป็นหน้าที่ตามสัญญา หน้าที่ตามสัญญาไม่ค่อยยาก สัญญาว่าอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาอยู่แล้วผูกมัดกันตามข้องสัญญา

คำพิพากษาฎีกาที่ 6848/2540 ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลย เมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โจทก์เป็นเจ้าของรวมแล้ว จำเลยยังมีหน้าที่ตามสัญญาต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้โจทก์

การโอนกรรมสิทธิ์

คำพิพากษาฎีกาที่ 1885/2531 การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตาม ป..มาตรา 481 นั้นต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่เจ้าพนักงานศุลกากรยึดรถยนต์ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยโดยอ้างอำนาจกฎหมาย ไม่เป็นการยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้องตามมาตรา 481 ดังนั้นความรับผิดของจำเลยผู้ขายรถยนต์ ไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตราดังกล่าว แต่เป็นการกรณีอายุความทั่วไปตามมาตรา 164(ตรงกับมาตรา 193/30 ใหม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 390/2518(ประชุมใหญ่การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องซึ่งมาตรา 481 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อความรับผิดเพื่อการโอนสิทธิ เมื่อพ้นกำหนด 3เดือนนั้น  ต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่ตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ไปจากโจทก์โดยอาศัยอำนาจกฎหมาย ซึ่งโจทก์จำต้องยอมให้ยึด มิฉะนั้นโจทก์อาจต้องมีความผิดในทางอาญานั้น กรณีไม่ใช่โจทก์ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ไม่อยู่ในอายุความ เดือน ตาม ป..มาตรา 481 แต่ต้องอยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 164 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี เปรียบเทียบกับฎีกาที่ 2367/2516 โจทก์และจำเลยต่างมีอาชีพรับซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนรถยนต์ จำเลยซื้อรถยนต์จาก สแล้วขายต่อให้โจทก์ ต่อมามีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยึดรถยนต์คันนั้นไปจากโจทก์ โดยบอกโจทก์ว่ารถยนต์นั้น สยักยอกมาจากเจ้าของแท้จริง   และแนะนำให้โจทก์คืนรถให้แก่เจ้าของ แล้วให้โจทก์ไปเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยโจทก์ก็ยินยอมมอบรถยนต์ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปและโจทก์ว่าจะไปทวงถามเอาจากจำเลยเอง

ดังนี้ถือว่าโจทก์ผู้ซื้อยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ใน ป..มาตรา 481แล้ว เมื่อโจทก์มาฟ้องให้จำเลยชำระค่ารถคืนเกินกว่า เดือน นับแต่วันรถถูกยึดไป คดีจึงขาดอายุความ จะเห็นได้ว่าตามฎีกาที่ 2367/2516 เป็นเรื่องโจทก์ยินยอมมอบรถให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจไป จึงถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์ยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้อง มีอายุความ 3เดือน มาตรา 481 แต่ตามฎีกาที่ 390/2518 เป็นเรื่องที่ตำรวจยึดรถไป ไม่ใช่กรณีตามมาตรา 481 มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 กรณีที่ผู้ขายไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อได้ เพราะผู้ขายไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เป็นเหตุให้ผู้ซื้อเสียหายต้องคืนเงินให้แก่ผู้ที่ซื้อต่อจากตน ผู้ซื้อฟ้องค่าเสียหายดังกล่าวคืนจากผู้ขายได้ ไม่ใช่เรื่องการรอนสิทธิ ไม่ตกอยู่ในอายุความมาตรา 481(ดูฎีกาที่ 4366/2539) 

การเช่าซื้อ

การไม่ชำระหนี้ของผู้เช่าซื้อ จนเป็นเหตุให้มีการเลิกสัญญาอันได้แก่ค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ตามนัย ป..มาตรา 391 วรรคสามเท่านั้น และถ้าทรัพย์ที่คืนมาเสียหายผู้เช่าซื้อต้องรับผิดนอกเหนือไปจากความเสียหายอันเกิดจากการใช้ทรัพย์โดยชอบอีกด้วย 

คำพิพากษาฎีกาที่ 985/2532 ในกรณีที่มีการเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อนั้น ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อ ริบเงินค่าเช่าซื้อที่ส่งแล้วและมีสิทธิเรียกร้องค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ ภายหลังจากการเลิกสัญญาตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม และถ้าทรัพย์สินที่คืนมาเสียหายผู้เช่าซื้อต้องรับผิดนอกเหนือไปจากความเสียหายอันเกิดจากการใช้ทรัพย์โดยชอบ และต้องรับผิด สำหรับค่าใช้จ่ายในการติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อด้วย 

คำพิพากษาฎีกาที่ 3358/2530 ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความได้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้นหากผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อ สังหาริมทรัพย์(เครื่องรับโทรศัพท์ที่ค้างชำระอยู่จึงจ้องฟ้องเสียภายในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156(6) ไม่ใช่ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาที่ 192/2512 ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา และเรียกให้ผู้เช่าซื้อ ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ หากส่งคืนไม่ได้ ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ให้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืน อยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี 

คำพิพากษาฎีกาที่ 601/2513 เมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเพียงริบค่าเช่าซื้อที่ได้รับไว้กับเรียกเอาทรัพย์ที่เช่าซื้อคืน จะเรียกเอาค่าเช่าที่ค้างด้วยไม่ได้ จะเรียกได้อีกก็แต่ค่าที่เช่าซื้อนั้นเสียหายเพราะเหตุอื่นนอกเหนือไปจากการใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยชอบ ผู้ให้เช่าซื้อก็เรียกค่าเสียหายได้ด้วยและการฟ้องร้องค่าเสียหายเช่นนี้ มีอายุความ 10 ปี 

คำพิพากษาฎีกาที่ 3944/2535 สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลารวม 36 งวด ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลารวม 36 งวด ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ ถึงงวดที่ 10 ล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาตลอดมา แต่โจทก์ก็ยอมรับชำระโดยมิได้ทักท้วง แสดงว่าในทางปฏิบัติโจทก์และจำเลยที่ มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญต่อไป ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ มิได้ชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 11 จะถือว่าจำเลยที่ ผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันไปตามสัญญาไม่ได้

กรณีเช่นนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาที่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 387 เสียก่อน เมื่อจำเลยที่ ไม่ชำระโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาไม่ได้ อย่างไรก็ตามการที่โจทก์ยึดรถยนต์คืนจากจำเลยที่ เพราะเหตุที่จำเลยที่ ไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดต่อมาและจำเลยที่ ก็ยินยอมโดยไม่โต้แย้ง เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญากันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์พิพาทคืน 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1703/2536 การที่สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันโดยจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกด้วยการนำรถแทรกเตอร์ที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์มิใช่กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันเพราะจำเลยผู้เช่าซื้อถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย หรือประพฤติผิดสัญญาอันจะทำให้จำเลยมีหน้าที่ต้องชดใช้ราคาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ตามสัญญา เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยจำเลยได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามสัญญาและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 573 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายก็ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังเดิมตามมาตรา 391 ดังนั้นแม้จำเลยค้างชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์รวม 3 งวด อยู่ก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเลิกได้ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 3842/2526 สัญญาเช่าซื้อที่ว่าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเพียงคราวเดียวหรืองวดเดียว ผู้ให้เช่าซื้อบอกสัญญาได้นั้น แม้จะแตกต่างกับ ป...มาตรา 574 วรรคแรก แต่กฎหมายบทนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 3408/2530 สัญญาเช่าซื้อระบุว่า การชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญของสัญญา ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัด ค้างชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันหรือผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่สองงวดขึ้นไป ให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันยกเลิกเพิกถอนทันที แต่ในทางปฏิบัติเมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ตรงตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาตลอดมา โจทก์ก็ยอมรับชำระโดยมิได้อิดเอื้อน จึงเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลย โจทก์ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 กล่าวคือต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดที่ติดค้างอยู่ ต่อเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้

การเช่าทรัพย์

สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า แม้สัญญาเช่ามีข้อตกลงให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นได้ก็ตาม ก็ยังถือว่าสัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทของผู้เช่า(ดูฎีกาที่ 383/2540) 

คำพิพากษาฎีกาที่ 383/2540 การเช่าทรัพย์สินนั้น ปกติฝ่ายผู้ให้เช่าย่อมเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าว่า จะสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้ทรัพย์สินที่เช่าและในการดูแลทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ ฉะนั้น สิทธิของผู้เช่าจึงมีสภาพเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตาย สัญญาเช่าเป็นอันระงับไป ไม่ตกทอดไปถึงทายาท ที่สัญญาเช่าข้อ ระบุว่าในระหว่างสัญญาเช่า ยังไม่ครบกำหนดอายุสัญญา ผู้เช่ามีสิทธิที่จะโอนการเช่าได้ แก่ผู้อื่นได้แต่ต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินให้แก่ผู้ให้เช่านั้น เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนการเช่าระหว่างที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่ายังชีวิตอยู่ ซึ่งอาจะทำได้ตาม  ป...มาตรา 544 และเพียงบุคคลสิทธิผูกพันเฉพาะคู่สัญญาหาได้ตกทอดมายังจำเลยแต่อย่างใดไม่

กรณีใช้สิทธิหรือใช้อำนาจในทรัพย์สินของตัวเองมีตัวอย่างเรื่องหนึ่ง ที่มีปัญหาว่าจะเป็นการละเมิดหรือไม่ คือเรื่องการเช่าบ้านแล้วสัญญาเช่าหมดอายุแต่เช่าไม่ยอมออกให้เช่าหรือเจ้าของบ้านไปใส่กุญแจบ้านได้หรือไม่ การที่ผู้เช่าฝืนอยู่ในบ้านที่เช่า ไม่ยอมออกผู้ให้เช่าหรือเจ้าของบ้านที่เช่าหมดอายุหรือมีการบอกการเช่าหรืออยู่โดยละเมิดก็ตาม บุคคลที่เช่าหรืออยู่นั้นเป็นการอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นละเมิดแต่การที่เขาอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเจ้าของบ้านไม่สามารถจะไปดึงฉุดกระชากเขาออก เพราะกฎหมายกำหนดทางออกไว้แล้วว่า เมื่อมีการบุกรุกหรืออยู่โดยผิดสัญญาเช่าอันเป็นการละเมิดนี้ เจ้าของจะต้องฟ้องขับไล่แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมาบังคับให้ออก ในบางครั้งการที่ไปฟ้องไล่นั้นไม่ทันใจเจ้าของบ้าน จึงเอากุญแจใส่บ้านขังเขาไว้ การใส่กุญแจบ้านไม่ผิด แต่การที่ขังเขาไว้ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ แต่ถ้าขณะนั้นเขาไม่อยู่บ้านแล้วไปใส่กุญแจบ้านก็เป็นได้อีกกรณีหนึ่งมีตัวอย่าง คือคำพิพากษาฎีกาที่ 3921/2535

เมื่อจำเลยที่ ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่า สัญญาเช่าจึงเป็นอันสิ้นสุด โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ในสถานที่เช่าอีกต่อไป การที่จำเลยไม่จ่ายกระแสไฟฟ้า น้ำประปาให้โจทก์ และต่อมาจำเลยได้ใส่กุญแจไม่ให้โจทก์เข้าไปใช้สถานที่เช่า เป็นการกระทำภายหลัง สัญญาเช่าได้สิ้นสุดลงได้โดยได้กำหนดเวลาให้โจทก์พอสมควรแล้ว จึงไม่เป็นการละเมิด โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ขาดรายได้จากกิจการของโจทก์และค่าชดเชยที่จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ตั้งแต่วันที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย เช่น กรณีศูนย์การค้าแบ่งพื้นที่ให้บริษัทห้างร้านเช่าขายสินค้า เมื่อขายไม่ดีก็ไม่จ่ายค่าเช่า เจ้าของผู้ให้เช่าก็เลยตัดน้ำตัดตัดไฟ ผู้ให้เช่าจึงบอกเลิกสัญญาและให้ขนย้ายออกไปแล้วแต่ผู้เช่าก็ยังไม่ขนย้ายออกไปทั้งๆ ที่ถูกตัดน้ำตัดไฟ เมื่อผู้เช่ากลับไปนอนตอนกลางคืนผู้ให้เช่าเอากุญแจมาใส่ซ้อนไม่ให้ผู้เช่าเข้าพื้นที่ที่เช่า ผู้เช่าจึงมาฟ้องผู้ให้เช่าเรียกว่าค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิด มีประเด็นว่าผู้ให้เช่ากระทำละเมิดต่อผู้เช่าหรือไม่ เมื่อพิจารณาตามมาตรา 420 ก็มีจุดที่ว่าการกระทำของผู้ให้เช่าเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ผู้ให้เช่าตัดน้ำตัดไฟเป็นอำนาจในการใช้ของผู้ให้เช่าซึ่งเป็นผู้ขอมาจากการประปาและการไฟฟ้า ตามสัญญาเขามีหน้าที่ต่อ เมื่ออีกฝ่ายไม่ผิดสัญญา เมื่อเขาผิดสัญญามีการบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วการตัดน้ำตัดไฟก็ไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาและการใส่กุญแจห้องที่เช่าก็ถือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ซึ่งเป็นการผิดสัญญาและการใส่กุญแจห้องที่เช่าก็ถือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าก็ไม่เป็นละเมิด

ฉะนั้นที่ผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าฟ้องฐานละเมิดกรณีจึงฟังไม่ได้ต้องยกฟ้องไป แต่ถ้ากรณีที่เขาไม่ยอมออกแล้วยังอยู่ในบ้าน แม้จะเป็นการอยู่โดยละเมิดก็ตามถ้าเจ้าของบ้านไปใส่กุญแจไม่ผิดฐานละเมิดที่ไปทำต่อตัวบ้านเพราะตัวบ้านเป็นของผู้ให้เช่าแต่จะละเมิดต่อตัวบุคคลที่อยู่ในบ้าน ทำให้เขาเสื่อมเสียเสรีภาพ หากเป็นกรณีถ้าตัวไม่อยู่แต่มีสิ่งของอยู่เหมือนอย่างตามคำพิพากษาฎีกานี้ ของเขาเก็บอยู่ในห้องที่เช่าทำให้ผู้เช่าเอาของออกไม่ได้เพราะใส่กุญแจเป็นละเมิดหรือไม่ ผู้ให้ขนออกแล้วในระยะเวลาพอสมควรและบอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบแล้วการที่ไม่ยอมขนของออกก็ถือว่าช่วยไม่ได้ ผู้ให้เช่ามีสิทธิใส่กุญแจได้ฝากทรัพย์(มาตรา 657-673) 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1621/2534 จำเลยยินยอมให้ลูกค้านำรถยนต์มาจอดในบริเวณที่ว่างในสถานีบริการน้ำมัน ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่ถ้านำรถยนต์ออกไปจากที่จอดหลังเวลา นาฬิกาจะต้องเสียเงินคันละ 10 บาท การ นำรถยนต์มาจอด ล็อคประตูแล้วเก็บกุญแจไว้เองมิได้ส่งมอบให้พนักงานของจำเลยการครอบครองรถยนต์ระหว่างที่จอดยังอยู่ในความครองของ สแม้จะมีการเก็บเงินค่าจอดหรือค่าบริการก็ไม่เป็นการฝากทรัพย์ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 7287/2539 และ หนำรถยนต์เข้าไปจอดในบริเวณที่จอด โดยได้ชำระเงินค่าจอดให้พนักงานของจำเลยทั้งสอง และได้รับใบรับซึ่งมีข้อความว่าบัตรจอดรถ โดย ดและ หยังคงเก็บกุญแจรถไว้เองแล้วออกไปจากบริเวณที่จอดรถดังกล่าว ยังไม่พอฟังว่าเป็นการส่งมอบรถยนต์ให้แก่จำเลยทั้งสอง อันจะทำให้จำเลยทั้งสองอยู่ในฐานะผู้รับฝากทรัพย์มีบำเหน็จ เมื่อรถยนต์สูญหายไป จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชอบใช้ค่าเสียหาย ข้อสังเกต ตามคำพิพากษาฎีกาที่1621/2534 และ 7287/2539 เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์รถยนต์เข้าไปจอด แต่เก็บกุญแจรถยนต์ไว้เอง ยังไม่พอฟังว่าได้มอบรถยนต์ไว้ในอารักขาของจำเลย ดูคำพิพากษาฎีกาต่อไปนี้ เจ้าของรถยนต์ได้มอบกุญแจรถยนต์แก่พนักงานของจำเลยไว้ถอยเข้าออกศาล ฎีกาถือว่าเป็นการฝากทรัพย์แล้ว(ดูฎีกาที่ 925/2536)

คำพิพากษาฎีกาที่ 925/2536 การที่จำเลยที่ 1 จัดบริการให้แก่ลูกค้าซึ่งไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคารของจำเลยที่ โดยให้จำเลยที่ 2  ต้อนรับ เอากุญแจรถยนต์ขับรถยนต์ขับรถยนต์เข้าที่จอดและเคลื่อนย้ายรถยนต์หากมีรถยนต์คันอื่นเข้าออกในบริเวณภัตตาคาร ออกใบรับที่จดหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรับกุญแจรถยนต์ของลูกค้าเก็บไว้ การที่จำเลยที่ 1ปฏิบัติเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการฝากทรัพย์ ตาม ป..มาตรา 657

คำพิพากษาฎีกาที่ 4235/2541 โจทก์นำรถยนต์ไปฝากไว้กับจำเลย จำเลยเรียกเก็บค่าฝากเป็นรายเดือน มีระเบียบว่าเจ้าของรถต้องฝากกุญแจรถไว้กับจำเลยเลื่อนรถได้ในกรณีที่มีรถอื่นเข้ามาจอด ซึ่งโจทก์ก็ได้มอบกุญแจรถให้จำเลยทุกครั้งที่มาจอด พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการรับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ หาใช่เป็นเรื่องให้เช่าสถานที่จอดรถไม่

การขายฝาก

ผลของการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก(มาตรา 492)

เมื่อไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากภายในกำหนดเวลาไถ่ หรือผู้ไถ่ได้วางทรัพย์สินอันเป็นสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาไถ่โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้ ให้ทรัพย์สินซึ่งขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ได้ชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ (มาตรา 492 วรรคหนึ่ง

บทบัญญัตินี้ได้มีการแก้ไข ในปี 2541 ได้แก้ไขหลักเกณฑ์จากเดิมว่าเมื่อไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากถือว่ากรรมสิทธิ์ไม่เคยตกไปแก่ผู้ซื้อฝากเลยเป็นว่าให้ทรัพย์สินที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ชำระสินไถ่ หรือวางทรัพย์สินอันเป็นสินไถ่จากบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่นี้ แสดงว่าในช่วงเวลานับแต่เวลาขายฝากจนถึงเวลาขายฝากจนถึงเวลาไถ่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากตกเป็นของผู้ซื้อฝาก ผู้ซื้อฝากจึงมีสิทธิครอบครองใช้ ประโยชน์ และได้ดอกผลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์

คำพิพากษาฎีกาที่ 656/2517 ดอกผลของทรัพย์ที่ขายฝาก ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างกำหนดเวลาขายฝากย่อมตกได้แก่ผู้ซื้อฝาก ที่มาตรา492 แห่ง ป..บัญญัติว่าทรัพย์สินซึ่งขายฝากถ้าไถ่ภายในเวลาที่กำหนดให้ต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ไม่เคยตกไปแก่ผู้ซื้อเลยนั้น หมายถึงเฉพาะตัวทรัพย์ที่ขายฝากเท่านั้น ไม่รวมถึงดอกผลด้วย 

ข้อสังเกต ตามคำพิพากษาฎีกานี้ หากวินิจฉัยตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ผลของคดีก็เป็นเช่นเดียวกัน แต่เหตุผลต้องเปลี่ยนเป็นว่า ตามมาตรฐาน492 เมื่อไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากแล้ว ให้ทรัพย์สินที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ชำระสินไถ่แสดงว่าก่อนไถ่  ทรัพย์สินที่ขายฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากอยู่ ดอกผลที่เกิดขึ้นเวลาดังกล่าวจึงตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยอาศัยอำนาจ แห่งกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1336”

การจำนอง          

คำพิพากษาฎีกาที่ 5733/2537 เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นประกันหนี้ประธานถึงกำหนดหนี้ตามสัญญาจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ที่จำเลยทำไว้เป็นประกันหนี้ประธานดังกล่าวย่อมถึงกำหนดเช่นกัน 

การที่ผู้รับจำนองไปขอให้ศาลขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตาม ป.วิ.มาตรา 289 ถือว่าเป็นการบังคับจำนอง ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น(ดูฎีกาที่ 2825/2527) 

คำพิพากษาฎีกาที่ 2825/2527 โจทก์ในฐานะผู้รับจำนอง ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องบังคับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องบังคับจำนองโดยตรง แต่โจทก์ก็ขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดมาโดยปลอดจำนอง อันถือได้ว่าเป็นการขอให้บังคับชำระหนี้บุริมสิทธิซึ่งอยู่ในฐานะที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิชอบทีจะได้รับ แต่เงินที่เหลือจากการชำระหนี้จำนองของโจทก์ ถ้าหากมีดังที่บัญญัติไว้ใน ปวิ..มาตรา  289วรรคสุดท้าย 

ข้อสังเกต ฎีกานี้เวลาฟ้อง ฟ้องอย่างเจ้าหนี้สามัญ แต่เวลาบังคับคดี ได้มีการขอให้ขายทรัพย์มีจำนองอย่างปลอดจำนอง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น

ในชั้นบังคับคดีที่มีเจ้าหนี้อื่นฟ้องผู้จำนอง และมีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด  ตลาด ผู้รับจำนองมีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้จำนอง ป.วิ..มาตรา 289 ซึ่งก็จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญ อย่างไรก็ตามแม้ผู้รับจำนองไม่ยื่นคำร้องตามบทบัญญัติดังกล่าว ก็ไม่ทำให้สิทธิของผู้รับจำนองเสียไป(ดูฎีกาที่ 3655/2538)

คำพิพากษาฎีกาที่ 3655/2538 การที่ผู้รับจำนองไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาด หาทำให้สิทธิในฐานผู้รับจำนองเสียไปไม่ฉะนั้น เมื่อเอาทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองแล้วก็ต้องชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้รับจำนองก่อน 

คำพิพากษาฎีกาที่  741/2523 การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งสาขาธนาคารนั้น เป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่าถ้าจำเลยที่ 1  ผิดสัญญา เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย แก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้น ก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ จำเลยที่ 3 ที่ 4   จะอ้าง ป..มาตรา 689 สนลักษณะค้ำประกันว่าการบังคับหนี้ควรจะบังคับจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนหาได้ไม่ แม้ผู้ซื้อซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาด จำนองก็ยังติดไปด้วย(ดูฎีกาที่1536/2500, 132/2535) 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1536/2500 ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต แต่ ป...มาตรา 1330 บัญญัติเพียงว่าสิทธิของผู้ซื้อไม่เสียไป แม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลย มิได้คุ้มครองถึงกับให้ผู้ซื้อได้สิทธิโดยปลอดจากภาระผูกพันใดๆ หากโจทก์รับ  จำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย การจำนองย่อมติดไปกับที่ดิน โจทก์ก็มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินพิพาทได้กู้ยืม 

คำพิพากษาฎีกาที่ 382/2537 จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เงินเกินบัญชีของจำเลยที่1 ที่ทำไว้กับโจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท หรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ ในวงเงิน 400,000 บาท เท่านั้น  แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ กู้เป็นเงินเกินบัญชีวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันระหว่างจำเลยที่ และจำเลยที่ หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผู้พันจำเลยที่ ด้วยไม่ ดังนั้นเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ มีหนังสือขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อถึงกำหนดโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 701 ค้ำประกัน 

คำพิพากษาฎีกาที่ 2565/2533 เมื่อสัญญาขายลดเช็คระหว่างบริษัท คกับโจทก์ไม่มีข้อจำกัดว่าเช็ค ที่บริษัท คนำมาขายลดแก่โจทก์จะต้องเป็นเช็คของลูกค้าบริษัท คเท่านั้นและตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุความรับผิดของจำเลยรวมถึงหนี้ตามเช็คของบุคคลอื่นที่บริษัท คนำมาขายลดแก่โจทก์ด้วย จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ซึ่งบริษัท คเป็นหนี้โจทก์ 2 ล้านบาทเศษ

คำพิพากษาฎีกาที่  2053/2535 จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่โจทก์ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท ไม่ได้ระบุจะค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับไหน และไม่ได้ระบุเวลาไว้ และยังตกลงให้หนังสือสัญญาค้ำประกันนี้มีผลใช้บังคับตลอดจนกว่าธนาคารจะบอกเลิกการให้สินเชื่อ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ เจตนาค้ำประกันหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่จำกัดจำนวนฉบับและไม่จำกัดระยะเวลาตลอดไป ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับสุดท้ายที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ 678/2540 สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งที่ไม่มีแบบ การที่จำเลยที่ 1 นำเช็คที่ตนเป็นผู้สั่งจ่ายโดยตกลงวันที่ล่วงหน้าไปมอบให้ธนาคารและรับเงินจากธนาคาร โดยมีข้อตกลงว่าหากเรียกเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยที่ 1 ยอมใช้เงินตามเช็คพร้อมพอกเบี้ยเป็นการขายลดเบี้ย

จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการขายลดเช็คของจำเลยที่ ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาสามยอด ในวงเงิน ล้านบาท แต่สัญญาค้ำประกันระบุว่าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คระหว่างจำเลยที่ กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด มิได้ระบุว่าเจตนาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ ที่มีต่อธนาคารกรุงเทพสาขาใดโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาราชวงศ์ ที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อสั่งจ่ายไปลดให้แก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาราชวงศ์แล้วจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน 

การจ้างทำของ

ความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง(มาตรา 428)

คำพิพากษาฎีกาที่ 2077/2542 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อสร้างอาคารตึกคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งอยู่ติดกับอาคารพาณิชย์ของโจทก์ และตามสัญญารับจ้างเหมางานก่อสร้างระหว่างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะต้องกระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ หากจำเลยที่ และที่ ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยที่ มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้  ประกอบข้อเท็จจริงว่าระหว่างการก่อสร้างจำเลยที่ ไปควบคุมดูแลการก่อสร้างตลอดเวลาย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 428  แห่ง ป..เมื่อการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารของโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น 

การประกันภัย(มาตรา 861-897)

สัญญาประกันภัย(มาตรา 861) 

สัญญาประกันภัยที่กำหนดบุคคลอื่นเป็นผู้ได้รับประโยชน์ เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกยังไม่ได้แสดงเจตนาจะถือเอาประโยชน์ ผู้เอาประกันฟ้องให้ผู้รับประกันภัยรับผิดได้(ดูฎีกาที่ 132/2540) 

คำพิพากษาฎีกาที่ 132/2540 โจทก์เช่าซื้อรถบรรทุกจากบริษัท กโจทก์เอาประกันภัยรถไว้กับจำเลยโดยระบุให้บริษัท กเป็นผู้รับประโยชน์ เมื่อบริษัท กมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัย  สิทธิของบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อรถบรรทุกพลิกคว่ำได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยได้ โดยบริษัท กไม่จำเป็นต้องโอนสิทธิเรียกร้องหรือมอบอำนาจให้โจทก์ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 5133/2542 สัญญาประกันภัย กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมไว้เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิใด ดังนั้น สัญญาประกันภัยจึงเกิดขึ้นเมื่อการแสดงเจตนาทำคำสนองถูกต้องตรงกัน

ผู้จัดการจำเลย  สาขาขอนแก่น มิได้เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจทำสัญญาประกันภัยแทนจำเลย สจึงไม่มีอำนาจรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทไว้จากโจทก์ แต่การที่ สรับคำขอประกันภัยไว้จากโจทก์ก็เพียงเพื่อส่งคำเสนอของโจทก์ให้แก่บริษัทจำเลย สำนักงานใหญ่พิจารณาว่าจะรับประกันภัยได้หรือไม่เท่านั้น มิใช่เป็นคำสนองรับประกันภัย เมื่อบริษัทจำเลย สำนักงานใหญ่ เพิ่งได้รับคำเสนอของโจทก์เมื่อเวลา 13.55 นาฬิกา อันเป็นเวลาหลังจากที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทได้เกิดเหตุไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีคำสนองตอบรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทเมื่อใด จึงฟังไม่ได้ว่า ขณะที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทเกิดอุบัติเหตุนั้น จำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้แล้ว อันจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 167/2516 การที่ผู้ต้องเสียหายละเลยไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีที่ฟ้องให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่บัญญัติเอาไว้ในมาตรา  887 วรรคสอง ซึ่งบทบัญญัตินั้นมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากการประกันภัยได้เท่านั้น หากมีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย และทำให้ผู้ประกันภัยนั้นหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่ฎีกานี้ตัดสินเอาไว้ในลักษณะที่อธิบายตัวกฎหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สรุปศาลฎีกาตัดสินบอกว่า  ถ้าไม่เรียกเข้ามาแล้วก็มีผลเพียงแต่ว่าทำให้ผู้ต้องเสียหายนั้นอาจเสียโอกาสหรือเสียประโยชน์ในการที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่ขาดไปเท่านั้นแต่ไม่มีผลทำให้ผู้รับประกันภัยนั้นหลุดพ้นความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น 

สำหรับคำพิพากษาฎีกาที่ 2447/2539 มีเรื่องอื่นเข้ามาปนด้วย จำเลยที่ 1  ขับรถคันที่จำเลยที่ รับประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยด้วยความประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ ถือว่าจำเลยที่ เป็นเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเองตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วย ส่วนการที่ผู้ต้องเสียหายไม่ได้ฟ้องหรือเรียกผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วยมาตรา 887 วรรคสอง นั้น ก็จะมีผลทำให้ผู้ที่ต้องเสียหาย ไม่อาจที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันได้เท่านั้น ไม่มีผลทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย และทำให้ผู้รับประกันภัยนั้นหลุดพ้นความรับผิดไปด้วย 

คำพิพากษาฎีกา 1006/2518 ในเรื่องนี้กรรมธรรมประกันภัยนั้นมีข้อความยกเว้นความรับผิดของบริษัทผู้รับประกันภัยว่า ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ถูกต้องตามกฎหมายอันสามารถที่จะใช้ขับขี่รถยนต์คันที่ได้เอาประกันภัยไว้แล้ว บริษัทไม่ต้องรับผิดชอบ ผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ตามพระราชบัญญัติรถยนต์แล้วเกิดความเสียหายขึ้น ประเด็นปัญหาก็คือบริษัทผู้รับประกันภัยนั้นต้องรับผิดชอบหรือไม่ เขาบอกแล้วว่าคนที่ขับรถที่จะได้รับการคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยค้ำประกันจุนนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แสดงว่าเป็นผู้ที่สามารถที่จะใช้ขับขี่รถยนต์ได้ถูกต้อง  เมื่อไม่มีใบอนุญาตขับขี่ขนส่งแล้ว ก็ถือว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความสามารถจะขับขี่ในตัว ฉะนั้นเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นมาแล้วบริษัทผู้ประกันภัยก็ไม่ต้องรับผิดชอบ

บัญชีเดินสะพัด 

คำพิพากษาฎีกาที่ 4985/2541 จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและขอสมัครเป็นผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่โจทก์จ่ายเงินแทนไปดังกล่าว โดยวิธีการให้โจทก์หักโอนชำระจากบัญชีกระแสรายวันบัตรเครดิต ต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลงในสัญญาการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวน ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตเท่านั้น

การที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ก็เพื่อให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว ตามพฤติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช้บัญชีเดินสะพัด และเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการทำงานต่างๆ ให้จำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ ปี ตาม ป..มาตรา 193/34 (7) มิใช่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปี แต่อย่างใด 

เช็ค

ความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน(มาตรา 900)

ผู้ที่มิได้เป็นกรรมการของนิติบุคคลลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค แม้จะประทับตราของนิติบุคคลในเช็คด้วย ก็ถือได้ว่ากระทำการแทนนิติบุคคลนั้น ผู้ที่ลงลายมือชื่อก็ต้องรับผิดตามเช็คตามมาตรา 900(ดูฎีกาที่ 7121/2539) 

คำพิพากษาฎีกาที่ 7121/2539 จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ที่มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของบริษัท อได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นของบริษัทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ของบริษัทและของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 มิได้ประทับตราของบริษัทด้วย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ และที่ ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะผู้แทนบริษัท และจำเลยที่ และที่ ไม่ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คโดยระบุว่าการกระทำการแทนบริษัทดังกล่าว ดังนั้น จำเลยที่ และที่ จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็คตาม ป..มาตรา 900,9001 

เช็ค(แพ่ง)

ในการกระทำนิติกรรมของกรรมการห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด ต้องเป็นไปตามข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัดนั้นๆ จึงจะผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทนั้น ในการสั่งจ่ายเช็คก็เช่นเดียวกัน ถ้ามิได้เป็นไปตามข้อบังคับ ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัดนั้นลงลายมือชื่อจ่ายเช็ค ดูฎีกาที่ 4214/2539 

คำพิพากษาฎีกาที่ 4214/2539 ข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดว่า การทำนิติกรรมใดๆ เพื่อให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ การที่จำเลยที่ หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อในเช็คที่ออกให้แก่โจทก์แต่เพียงผู้เดียวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ ได้ลงลายมือสั่งจ่ายเช็คตาม ป..มาตรา 900 แม้จำเลยที่ จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 ออกเป็นตัวแทน ทั้งมิได้มีการนำเงินที่ได้จากการสั่งจ่ายเช็คมาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 อันจะถือได้ว่าเป็นการใช้สัตยาบันแก่การกระทำจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ 

ข้อยกเว้นที่ผู้ทรงไม่ต้องนำเช็คไปยื่นต่อธนาคาร

กรณีบัญชีเงินฝากของผู้สั่งจ่ายปิดแล้ว ผู้ทรงก็ไม่จำต้องนำเช็คไปเรียกเก็บเงินอีก(ดูฎีกาที่ 1865/2517, 1494/2529)

คำพิพากษาฎีกาที่ 1494/2529 ปรากฏว่าบัญชีเงินฝากของจำเลยทั้งสองที่ธนาคารตามเช็คถูกปิดแล้วตั้งแต่ก่อนเช็คตามฟ้องถึงกำหนด แสดงว่าธนาคารตามเช็คได้งดเว้นการใช้หนี้ตามเช็คของจำเลยทั้งสองแล้วตาม ป..มาตรา 959 () (2) ประกอบมาตรา 989 โจทก์จึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสอง ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายได้ โดยไม่จำต้องนำเช็คไปยื่นเพื่อให้ธนาคารใช้เงินเสียก่อน 

คำพิพากษาฎีกาที่ 755/2526 ในกรณีฟ้องเรียกเงินตามเช็ค แม้ธนาคารจะได้เรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็ค หากบัญชีของผู้สั่งจ่ายได้ปิดไปก่อนที่ธนาคารเรียกเก็บเงินแล้วก็เป็นวันว่าเช็คนั้นไม่มีผลเป็นการชำระหนี้ได้ ไม่จำเป็นต้องนำเช็คไปยื่นเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงินซ้ำอีก ในกรณีเช่นนี้ผู้ทรงเช็คย่อมนำเช็คมาฟ้องร้องผู้สั่งจ่ายให้รับผิดในทางแพ่งได้ตาม ป..มาตรา 959 และ 989 

เช็ค(อาญา)

คำพิพากษาฎีกาที่ 2139/2526 จำเลยออกเช็คโดยไม่ได้ลงวันเดือนปี ย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ออกเช็คกระทำผิด แม้ต่อมาจำเลยจะบอกให้บุตรสาวลงวันที่ในเช็คพิพาท ก็ผลเพียงทำให้เช็คพิพาทมีรายการสมบูรณ์ และสามารถฟ้องร้องกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น หามีผลที่จะปรับเป็นความผิดตาม พ..ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ไม่ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 2730/2523 การออกเช็คแต่ละฉบับหากจะเป็นความรับผิดก็เป็นได้เพียงครั้งเดียว ฉะนั้น เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทสั่งให้ใช้เงินแก้ผู้ถือให้แก่โจทก์ แล้วภริยาโจทก์นำไปขายลดให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด แล้วในวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงิน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด จึงเป็นผู้เสียหาย และความผิดเกิดขึ้นแล้วในวันนั้น แม้ภายหลังโจทก์จะนำเงินไปแลกเช็คพิพาทคืนมาแล้วนำเงินไปยื่นแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยมีความผิดอีก โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย 

คำพิพากษาฎีกาที่ 228/2503 ความผิดตาม พ..ว่าด้วยผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ถ้าธนาคารยังไม่ปฏิเสธการจ่ายเงินก็ยังไม่เกิดความผิด จะมีการนับอายุความได้ก็ต่อเมื่อเกิดความผิดขึ้นแล้ว 

ถ้านับตั้งแต่วันที่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จนถึงวันที่ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานยังไม่เกิน 3 เดือน คดียังไม่ขาดอายุความ 

การละเมิด

คำพิพากษาฎีกาที่ 5398/2530 อาคารจอดรถของบริษัทจำเลยที่ 5 มีทางเข้าออก 1ทาง ทางออก 1 ทาง ปากทางเข้ามีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกันคอยเก็บเงินพร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา 5 บาท โดยจดทะเบียนไว้ในบัตรด้วย ด้านหน้าบัตรมีข้อความว่า บริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ด้านหลังมีข้อความว่าผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัว เพื่อป้องกันรถหายกรุณาคืนบัตรทุกครั้งก่อนออกจากบริเวณจอดรถ บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดง บริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกมาจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจ และในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนตรวจตรา ที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่า กรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหาย สำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออก แม้ผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเอง ปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เองอีกทั้งด้านหลังบัตรมีข้อความว่า หากมีการสูญหายหรือเสียหายใดๆ เกิดขึ้นทุกกรณีผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการ แต่ทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 นี้มีบริการรักษาความปลอดภัยสำหรับที่จะนำเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 5 ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้ ทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน 5 บาท เป็นค่าตอบแทน การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อนๆ ของจำเลยทั้งห้า ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอด 

จำเลยที่ 2 ถึง 4 ยืนเก็บเงินออกบัตร จดทะเบียนรถลงในบัตรและตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถอยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรง เมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีทางเดียว หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้ การที่รถยนต์ของโจทก์สูญหายไปจึงเนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดอันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่2 ถึงที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต่อโจทก์ด้วยตามมาตรา 425 

เรื่องรถยนต์หายเพราะไปจอดในปั๊มน้ำมัน ที่ศูนย์การค้า หรือสถานีบริการรับจอดรถ โจทก์มักจะฟ้องโดยอ้างมูลหนี้เป็นเรื่องสัญญาว่าเป็นผู้รับฝากรถยนต์ ถ้ามีสัญญาฝากทรัพย์เมื่อรถยนต์หาย ผู้ฝากก็ฟ้องผู้รับฝากให้รับผิดได้ แต่ถ้าเข้าไปจอดโดยไม่มีสัญญาฝากทรัพย์ก็ไม่ร้องรับผิด ทางปั๊มน้ำมันจึงเปลี่ยนแปลงรูปไปเป็นทำสัญญาเช่าพื้นที่จอดรถ เมื่อรถยนต์หายก็ไม่ต้องรับผิด คดีนี้ตั้งรูปคดีเป็นเรื่องละเมิด ไม่ตั้งเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์เพราะไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ สิทธิที่ถูกกระทำละเมิดคือ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ จำเลยที่ห้าไม่ได้เป็นผู้ลักรถยนต์ จึงมีปัญหาว่าจำเลยทำอะไรที่เป็นการละเมิด ปรากฏว่ามีการเก็บค่าจัดการจราจรเพียง 5 บาท ซึ่งไม่ใช่เป็นค่าบริการจอดรถแต่มีหลักกหมายว่าการกระทำหมายรวมถึงการงดเว้นที่จะต้องกระทำด้วย การงดเว้นจะถือว่าเท่ากับการกระทำได้ต่อเมื่อผู้นั้นต้องมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำการเพื่อป้องกันผลนั้นแล้วไม่กระทำตามหน้าที่ คดีนี้หน้าที่ตามกฎหมายไม่มี เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าผู้เปิดศูนย์การค้ามีหน้าที่ดูแลรถยนต์ที่มาจอด หน้าที่ตามสัญญาก็ไม่มี แต่มีหน้าที่อันเกิดจากความสัมพันธ์ก่อนๆ เพราะจำเลยให้เอารถยนต์ไปจอดในลักษณะอย่างนั้นก็ต้องป้องกันไม่ให้รถยนต์หายจึงเป็นละเมิดก่อให้เกิดหนี้ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 3373/2535 ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ที่ ไปชนท้ายรถคันที่3 ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นความผิดของคนขับรถคันที่ 4 ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่ตนก่อให้เกิดขึ้นมานั้น เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากการที่รถคันที่ 5 ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับโดยประมาทไปชนท้ายรถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ ผู้ขับรถคันที่ 4 ไม่ได้มีส่วนร่วมในความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อนให้เกิดความเสียหายแก่คันที่ 4 ได้รับจะนำไปอาศัยพฤติการณ์ที่ผู้ขับรถคันที่ 4 ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 มารวมพิจารณาว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดยิ่งหย่อนกันเพียงไหนนั้น ย่อมไม่ได้ ความเสียหายที่รถคันที่ ได้รับจะต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว 

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่รถคันที่ 4 ไปชนท้ายรถคันที่ 3 ระหว่างที่ลงไปดูความเสียหายอยู่ รถคันที่ 5 มาชนรถคันที่ 4 เฉพาะความเสียหายรถคันที่ 4 ที่มีประเด็นที่ศาลฎีกาวินิจฉัย ฝ่ายรถคันที่ 4 จะฟ้องเรียกจากรถคันที่ 5 ที่มาเกิดเหตุที่หลัง ถ้ารถคันที่ 5อ้างว่ารถคันที่ 4 ก็มีส่วนผิดเพราะไปชนท้ายอีกคันหนึ่งทำให้ขวางทางก็เลยมาขอเฉลี่ยความเสียหาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเหตุเกิดคนละตอนไม่เกี่ยวกันไม่ได้เกิดแบบกะทันหัน เกิดเหตุไปแล้วระหว่างลงไปดู รถคันที่ 5 ขับมาไม่ดูอะไรว่ามีขัดขวางข้างหน้าหรือไม่ก็ไปชนท้ายคันที่ 4 เข้า อย่างนี้เขาไม่ผิดที่เกิดเหตุก่อนไม่เกี่ยวกัน รถคันที่ 5 ที่มาชนทีหลังต้องรับผิดชอบเต็ม 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1050/2495 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดบ้านเรือนโดยมีเหตุผลให้เชื่อโดยสุจริตว่า บ้านเรือนยึดเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนถึงขายทดตลาดบ้านเรือนนั้นไป ดังนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยใช้สิทธิทางศาลเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้แทนทำการไปโดยมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใดแล้ว ถึงแม้จะปรากฏว่าบ้านเรือนที่ยึดเป็นของคนอื่นก็ดี การกระทำนั้นก็ไม่เป็นการละเมิด 

การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไปยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ถือว่าเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การยึดทรัพย์นี้บางครั้งทรัพย์ที่ยึดเป็นบุคคลอื่น ถ้าเจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษาแล้วก็ถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการจงใจทำให้ผู้อื่นเสียหาย จะมีปัญหาเฉพาะเรื่องประมาทเลินเล่อหรือไม่ ถ้าเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาครอบครองหรือใช้สอยอยู่ซึ่งสามัญชนทั่วไปย่อมเชื่อได้ว่าทรัพย์ที่ยึดครอบครองหรือใช้สอยอยู่เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็คงไม่ประมาทเลินเล่อ แต่ถ้าเป็นพวกอสังหาริมทรัพย์ก็น่าจะต้องตรวจสอบไปจากเอกสารหนังสือสำคัญเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินจึงจะต้องมีการตรวจสอบก่อน หรือถ้าเชื่อว่าเขาครอบครองแทนกันก็จะต้องมีข้อเท็จจริงที่หนักแน่นให้ฟังได้ว่าหรือให้เข้าใจได้โดยสุจริตได้ว่า เป็นทรัพย์ของลุกหนี้ตามคำพิพากษามิฉะนั้นอาจจะเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อซึ่งจะเป็นการละเมิดได้ 

เครื่องหมายการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537 โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันว่า BIRKENSTOCK BAD HONNEF-RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่รัศมีมีแสงส่องสู้เบื้องบน คำว่า BIRKENSTOCK เป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ล เบอร์เคนสต็อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ ส่วนคำว่า BAD HONNEF-RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่นำไรน์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทโจทก์ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้า โดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศ กับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก สินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่างๆมาเป็นเวลานานกว่า 25 ปี เป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย 

บทบัญญัติมาตรา 21 และ 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแบ่งออกเป็นขั้นๆ รวมทั้งขั้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21 (ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.2534 ก็มีบทบัญญัติเช่นนี้และขั้นจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ 

การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร(มาตรา 1555-1559)

แต่ถ้าเป็นเรื่องรับมรดกตามาตรา 1558 บัญญัติไว้ว่า ถ้าได้มีการฟ้องคดีรับเด็กเป็นบุตรภายในอายุความมรดก ถ้าศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เด็กนั้นก็มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แสดงว่าในการรับมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่บิดาถึงแก่ความตาย ดูฎีกาที่ 1196/2538 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1196/2539 แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะเพิ่งคลอด และศาลฎีกาก็มีคำสั่งภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ 8 เดือนว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 2 ก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ป..มาตรา 1558 วรรคแรก และเป็นทายาทโดยชอบธรรมลำดับที่ 1 ผู้ร้องเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย และมิได้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกอันที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ 

กรณีที่บิดาให้การรับรองแล้ว ก็ยังถือว่าเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีอำนาจฟ้องบิดาได้(ดูฎีกาที่ 3019/2541) 

คำพิพากษาฎีกาที่ 3019/2541 ป..มาตราที่ 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งหมายความห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น โจทก์เป็นบุตรที่จำเลยรับรองแล้วแต่จำเลยและมารดาโจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยต่อเมื่อจำเลยและมารดาโจทก์สมรสกันภายหลัง หรือจำเลยได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ป..มาตรา 1547 เมื่อไม่มีการดำเนินการดังกล่าว โจทก์จึงมิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย 

อายุความจัดการมรดก(มาตรา 1733 วรรคสอง

การที่เจ้ามรดกโอนทรัพย์มรดกเป็นของตนหรือผู้อื่นโดยไม่แบ่งให้ทายาทอื่นอีกถือว่าการจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว(ดูฎีกาที่2347/2540) 

คำพิพากษาฎีกาที่ 2347/2540 อายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกนั้น ป..มาตรา 1733 วรรคสอง กำหนดห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง หาใช่นับแต่วันที่รู้ถึงการจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่ เมื่อปรากฏว่าทรัพย์มรดกมีที่ดินเพียงแปลงเดียว จำเลยโอนมรดกโดยจดทะเบียนใส่ชื่อตนและนาง ทเป็นผู้รับมรดกโดยมิได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ทั้งห้าเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2527 และเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะจัดการต่อไปอีก จึงถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้ว การที่โจทก์ทั้งห้าฟ้องจำเลยว่าจัดการมรดกไม่ชอบเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2534 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คดีโจทก์จึงขาดอายุความ 

ข้อสังเกต นี้โจทก์ฟ้องจำเลยฐานะผู้จัดการมรดก อ้างว่าจำเลยจัดการมรดกไม่ชอบ จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มีอายุความตามมาตรา 1733 วรรคสอง



จดเครื่องหมายการค้า | โทร. 081-927-2773
ติดตามผลงานของเรา เพิ่มเติม. ได้ที่ https://www.facebook.com/THTNN