• ใบอนุญาตทำงาน
  • Thanakrit Law Office
  • รับว่าความ
  • Legal Service
  • จดทะเบียนบริษัท
  • Company Registration
  • เครื่องหมายการค้า
  • Thai Visa
  • Patent Trademark
  • สิทธิบัตร
  • Work Permit
  • ลิขสิทธิ์
  • Patent
  • ขอวีซ่า
  • Copyright
Which KITTILAW.COM do you want to visit?

รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร


ทรัพย์สินทางปัญญา


ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์อีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

โดยทั่ว ๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า "ลิขสิทธิ์" ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้ว ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial property) และลิขสิทธิ์ (Copyright) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม แท้ที่จริงแล้ว ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้ เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบ และรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม จึงสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

สิทธิบัตร (Patent)

เครื่องหมายการค้า (Trademark)

แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of Integrated Circuit)

ความลับทางการค้า (Trade Secrets)

ชื่อทางการค้า (Trade Name)

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

 

ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท

 

ลิขสิทธิ์ งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้ง

 

สิทธิ์ข้างเคียง (Neighbouring Right) คือ การนำเอางานด้านสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ในการบันทึก หรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน

 

งานฐานข้อมูล (Database) คือ ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ

 

สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์(Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด

 

การประดิษฐ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

 

การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม และแตกต่างไปจากเดิม

ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย

แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังหรือแบบที่ทำขึ้น เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น

 

เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้สินค้า หรือบริการ ได้แก่

 

เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้อง กับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่อง หมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น

 

เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น

 

เครื่องหมายร่วม (Colective Mark) คือ เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กร อื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น

 

ความลับทางการค้า หมายถึง ข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินตามสมควรเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ

ชื่อทางการค้า หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น โกดัก ฟูจิ เป็นต้น

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ mหมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้ แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ คอนยัค เป็นต้น

 

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา3 ฉบับ คือ

 

1. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

    และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2542

2. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และ

3. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีพันธกรณีตามการเจรจาการค้า ระหว่างประเทศ ที่จะต้องออกกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท ต่อไปในอนาคต

 

การขอรับสิทธิบัตร

ในบทนี้จะเป็นการสรุปข้อกฎหมายเกี่ยวกับลักษณะของคำขอรับสิทธิบัตรทั้งสองประเภท วิธีการเตรียมคำขอรับสิทธิบัตร ตลอดจนสิ่งที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรควรทราบ ซึ่งอาจจะมีบางส่วนใกล้เคียงกับในบทอื่นอยู่บ้าง แต่เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ จึงใคร่ขอรวมไว้ด้วยกันในบทนี้

ก. ลักษณะตามกฎหมาย

ผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร

ในกรณีผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้บัญญัติไว้ดังต่อไปนี้

(ก) ผู้ประดิษฐ์ หรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือทายาทของบุคคลดังกล่าว (ม.10 วรรคแรก วรรคสอง และ ม.65)

(ข) นายจ้าง ผู้ว่าจ้าง หน่วยราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ (ม.11, 13, 65)

(ค) ผู้รับโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตรจากบุคคลอื่น โดยจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน และผู้รับโอน (ม.10 วรรคสอง สามและ ม.65)

ผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตรตามข้อ 35 จะต้องเป็นผู้สัญชาติไทย หรือสัญชาติของประเทศที่ยอมให้บุคคลสัญชาติไทยขอรับสิทธิบัตรในประเทศนั้นได้ไม่ว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม ซึ่งในกรณีของนิติบุคคลนี้ให้ถือเอาประเทศที่เป็นสถานที่ตั้งของสำนักงานเป็นสัญชาติของผู้ขอ (สัญชาติของประเทศที่ยอมให้บุคคลสัญชาติไทยขอรับสิทธิบัตรในประเทศนั้นได้-ปรากฏตามเอกสารประกอบ 1) (ม. 14, 65)

อย่างไรก็ตาม ในทางปฎิบัติจะนับเอาว่าหากประเทศใดระบุกำหนดผู้มีสิทธิยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้ในทำนองเดียวกับกฎหมายไทยแล้ว ก็จะอนุโลมให้บุคคลสัญชาตินั้นยื่นขอรับสิทธิบัตรได้เช่นกัน

ในกรณีที่บุคคลหลายคนทำการประดิษฐ์หรืออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ก็มีสิทธิในการขอรับสิทธิบัตรร่วมกันได้ ยกเว้นแต่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบร่วมบางคนไม่ต้องการขอรับสิทธิบัตรหรือติดต่อไม่ได้ หรือไม่มีสิทธิ ซึ่งผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบร่วมที่มิได้ร่วมขอรับสิทธิบัตรนี้จะขอเข้าร่วมรับสิทธิบัตรในภายหลังได้ แต่ต้องการออกสิทธิบัตร (ม.15, 65)

แม้ว่าการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในครั้งแรกโดยผู้ประดิษฐ์ร่วมบางคนดังกล่าวได้ถูกละทิ้งไปก็มิได้มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้ประดิษฐ์ร่วมที่มิได้ร่วมขอรับสิทธิบัตรในครั้งแรกแต่อย่างไร (ม.6(5))

ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบฯมีสิทธิจะได้รับการระบุชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบฯไว้ในสิทธิบัตร (ม.10 วรรคแรก, ม.65)

ภาษาที่ใช้ในคำขอสิทธิบัตร

ผู้ขอรับสิทธิบัตรจะต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรพร้อมรายละเอียดการประดิษฐ์ข้อถือสิทธิ และบทสรุปการประดิษฐ์ กรณีเป็นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรือพร้อมคำพรรณาแบบผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี) ภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ และข้อถือสิทธิ กรณีเป็นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จัดทำเป็นภาษาไทยในวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตรนั้น (กฎ ฉ.13 (พ.ศ. 2535) ข้อ 12 วรรคแรก (2) และข้อ 22)

แต่ในกรณีที่เป็นคำขอรับสิทธิบัตรที่ได้ยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้ในต่างประเทศก่อนแล้ว ผู้ขออาจยื่นรายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิและบทสรุปการประดิษฐ์ กรณีเป็นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือยื่นคำพรรณาแบบผลิตภัณฑ์และข้อถือสิทธิในกรณีที่เป็นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นภาษาต่างประเทศในวันยื่นขอรับสิทธิบัตรนั้นก่อนก้ได้แต่ต้องยื่นเอกสารดังกล่าวที่ได้จัดทำเป็นภาษาไทยภายใน 90 วัน นับจากวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร (กฎ ฉ.13 (พ.ศ. 2535) ข้อ 12 วรรคสอง ข้อ 22)

ถ้าการยื่นเอกสารตามข้อ 41 ไม่สามารถกระทำได้ภายในกำหนดเวลา 90 วันให้ถือว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรนั้น ในวันยื่นเอกสารที่จัดทำเป็นภาษาไทยดังกล่าว (กฎ ฉ.13 (พ.ศ. 2535) ข้อ 12 วรรคสาม, ข้อ 22)

คำขอรับสิทธิบัตร

คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ประกอบด้วย (กฎ ฉ.13 (พ.ศ. 2535) ข้อ 2 วรรคสอง และวรรคสาม)

(ก) แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร และเอกสารประกอบคำขอ

(ข) รายละเอียดการประดิษฐ์

(ค) ข้อถือสิทธิบัตร

(ง) บทสรุปการประดิษฐ์

(จ) รูปเขียน (ถ้ามี)

คำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย

(ก) แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร และเอกสารประกอบคำขอ

(ข) ข้อถือสิทธิ

(ค) ภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์

(ง) คำพรรณาแบบผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี)

จากข้อ 43 และ ข้อ 44 จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นคำขอรับสิทธิบัตรประเภทใดก็ตามล้วนแล้วแต่ต้องประกอบไปด้วยแบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรและเอกสารประกอบคำขอด้วยกันทั้งสิ้น จึงใคร่ขอกล่าวโดยรวมไว้ในที่นี้ดังต่อไปนี้

ข. แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรและเอกสารประกอบคำขอ

แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญาฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2535) ได้กำหนดให้ใช้แบบพิมพ์ สป/สผ/001-ก (เอกสารประกอบ 2) ซึ่งผู้ขอรับสิทธิบัตรจะรับแบบพิมพ์นี้ พร้อมคำชี้แจงประกอบได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยแบบพิมพ์นี้มุ่งให้แสดงถึงข้อมูลประวัติและความประสงค์บางประการของผู้ขอสำหรับการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น การขอให้นับวันยื่นคำขอในต่างประเทศเป้นครั้งแรกเป็นวันยื่นคำขอในประเทศไทย การขอยื่นเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศก่อน การแสดงรายระเอียดการฝากจุลชีพ (ในกรณีที่เป็นการประดิษฐ์จุลชีพใหม่) (ป.ฉ.1 (พ.ศ. 2535) ข้อ 2)

การลงลายมือชื่อผู้ขอในแบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร ในกรณีที่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบเป็นผู้ขอรับสิทธิบัตรเอง ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบก็จะเป็นผู้ลงลายมือในข้อ 14 ของแบบพิมพ์ดังกล่าว ถ้าขอในนามนิติบุคคล ให้ผู้มีอำนาจลงนามเป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้ขอรับสิทธิบัตรพร้อมประทับตรานิติบุคคลนั้น แต่ในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้ตัวแทนสิทธิบัตรเป็นผู้กระทำการแทนก็ให้ตัวแทนสิทธิบัตรเป็นผู้ลงลายมือชื่อ (กฎ ฉ.13 (พ.ศ. 2535) ข้อ 2 วรรคสอง และวรรคสาม)

ในกรณีที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรเป็นนิติบุคคลไทย จะต้องยื่นหนังสือรับรองที่ออกไว้ก่อนล่วงเวลาหน้าไม่เกิน 6 เดือน ประกอบด้วย

หนังสือโอน จะต้องมีหนังสือโอนแนบมาพร้อมแบบพิมพ์ข้างต้นในกรณีที่ผู้ประดิษฐ์หรือออกแบบฯ ได้โอนสิทธิบัตรให้แก่ผู้อื่น โดยจะต้องมีการลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนโดยมิต้องมีการรับรองของโนตารีพับริค ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม (ในกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนไม่มีถิ่นที่อยู่ในไทย และกระทำการโอนในต่างประเทศ) ทั้งนี้ ผู้ขอจะต้องยื่นหนังสือโอนต้นฉบับ 1 ชุดต่อการขอรับสิทธิบัตร 1 เรื่อง จะใช้สำเนามิได้ (ม.10 วรรคสาม ป.ฉ.1(พ.ศ. 2535) ข้อ 4)

คำรับรองสิทธิเกี่ยวกับสิทธิขอรับสิทธิบัตร คือแบบ สป/สผ/001-ก(พ) หรือ FORM PI/PD/001-A (Add) (เอกสารประกอบ 3) จะใช้ในกรณีที่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบฯ เป็นผู้ขอรับสิทธิบัตรด้วยตนเองมิได้โอนให้แก่ผู้ใด (ป.ฉ.1 (พ.ศ. 2535) ข้อ 3)

หนังสือรับรองสิทธิอื่นๆในการขอรับสิทธิบัตร เช่น หนังสือสัญญาลูกจ้าง (ในกรณีเป็นการว่าจ้าง) ฯลฯ จะต้องใช้ต้นฉบับเช่นกัน (ป.ฉ.1 (พ.ศ. 2535) ข้อ 4)

หนังสือมอบอำนาจ เป็นหนังสือแสดงการมอบอำนาจในการดำเนินกิจการใดๆของผู้ขอให้แก่ตัวแทนสิทธิบัตรที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดำเนินการแทนผู้ขอ สำหรับผู้ขอที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยโดยจะต้องมีคำรับรองรองลายมือชื่อโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศที่ผู้มีอำนาจมีถิ่นที่อยู่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือคำรับรองของบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้นให้มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ หรือถ้าการมอบอำนาจนั้นได้กระทำในประเทศไทยต้องส่งภาพถ่ายหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ชั่วคราวหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าในขณะมอบอำนาจนั้น ผู้มอบอำนาจได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยจริง ทั้งนี้จะต้องปิดอากร 30 บาท ต่อผู้รับมอบอำนาจ 1 คน (กฎ ฉ.13 (พ.ศ. 2535) ข้อ 13, 22)

ในกรณีที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรมีถิ่นที่อยู่ในไทยจะทำการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทนก็ได้ โดยต้องมอบอำนาจให้แก่ตัวแทนสิทธิบัตรที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น (ดูคำขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตรในเอกสารประกอบ 4) (กฎ ฉ.13 (พ.ศ. 2535) ข้อ 14, ข้อ 22 และ ป.ฉ.4 (พ.ศ. 2535)

ถ้าผู้ขอรายเดียวกันได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในคราวเดียวกันมากกว่า 1 คำขอจะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจต้นฉบับต่อพนักงาน โดยยื่นฉบับสำเนาสำหรับคำขอรับสิทธิบัตรแต่ละคำขอ

ผู้ขอรับสิทธิบัตรจะต้องยื่นหนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือรับรองดังกล่าวที่จัดทำเป็นภาษาต่างประเทศพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทยที่ผู้แปลและผู้รับมอบอำนาจได้รับรองว่าเป็นคำแปลภาษาไทยที่ถูกต้องตรงกับหนังสือมอบอำนาจหรือหนังสือรับรองดังกล่าวพร้อมคำขอรับสิทธิบัตร (กฎ ฉ.13 (พ.ศ. 2535) ข้อ 15)

ในกรณีที่ผู้ขอมิอาจยื่นเอกสารประกอบดังกล่าวข้างต้น (หนังสือโอนคำรับรองสิทธิ, หนังสือมอบอำนาจ) ในวันขอรับสิทธิบัตรพร้อมคำขอได้ ก็อาจขอผ่อนผันการนำส่งเอกสารดังกล่าวได้ 90 วัน และยังอาจขอขยายระยะเวลาออกไปได้อีก 30 วัน โดยต้องยื่นขอก่อนหมดระยะเวลา 90 วัน ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 10 วัน (ป.ฉ.1 (พ.ศ. 2535) ข้อ 4)

การขอให้นับว่ายื่นคำขอในต่างประเทศเป็นครั้งแรกเป็นวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในไทย

ในกรณีที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ไว้นอกราชอาณาจักรแล้วและได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์เดียวกันในไทยภายใน 12 เดือน หรือสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ผู้ขอจะมีสิทธิขอให้ถือว่าเสมือนได้ยื่นคำขอนั้น ในวันที่ได้ยื่นคำขอในต่างประเทศเป็นครั้งแรกดังกล่าว หากประเทศที่ผู้ขอมีสัญชาติให้สิทธิในทำนองเดียวกันแก่บุคคลสัญชาติไทย (ม.19 ทวิ, ม.60)

ผู้ขอจะต้องแสดงความประสงค์ขอสิทธิตามข้อ 53 โดยการแสดงเครื่องหมายในช่องที่ต้องการของข้อ 6 ในแบบพิมพ์ สป/สผ/001-ก (เอกสารประกอบ 2) พร้อมรายละเอียดของคำขอรับสิทธิบัตรที่ยื่นในต่างประเทศเป็นครั้งแรกดังกล่าว คือวันยื่นคำขอ เลขที่ขอ ประเทศที่ยื่น สัญลักษณ์จำแนกการประดิษฐ์ระหว่างประเทศ และสถานะคำขอด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วควรจะขอมาพร้อมคำขอรับสิทธิบัตร หรือจะขอก่อนวันประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรแต่ต้องไม่เกินสิบหกเดือนนับแต่วันยื่นคำขอนั้นในต่างประเทศเป็นครั้งแรกดังกล่าวก็ได้ (กฎ ฉ.13 (พ.ศ. 2535) ข้อ 10 ข้อ 21)

(ในกรณีที่เป็นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ควรจะขอมาพร้อมคำขอรับสิทธิบัตร หรืออาจจะขอสิทธินี้ก่อนวันประกาศโฆษณาคำขอดังกล่าวในประเทศไทยก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดเวลา 16 เดือนเหมือนการประดิษฐ์) โดยจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาดังนี้

(ก)สำเนาเอกสารแสดงรายละเอียดตามคำขอรับสิทธิบัตรที่ยื่นไว้ในต่างประเทศเป็นครั้งแรกกล่าวคือรายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์ รูปเขียน (ถ้ามี) หรือคำพรรณาแบบผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี) ข้อถือสิทธิ และภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ตามแต่กรณี ที่มีการรับรองความถูกต้อง โดยสำนักงานสิทธิบัตรของประเทศที่ยื่นไว้เป็นครั้งแรกดังกล่าว และ

(ข)หนังสือรับรองวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศเป็นครั้งแรกที่ออกให้โดยสำนักงานสิทธิบัตรของประเทศที่ยื่นครั้งแรกดังกล่าว

การยื่นเอกสารตามข้อ 58 นั้น อาจยื่นพร้อมคำขอหรือก่อนวันประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ถ้าไม่สามารถยื่นเอกสารดังกล่าวได้ทันภายในกำหนดเวลา ก็จะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว (ป.ฉ.1 (พ.ศ. 2535) ข้อ 7)

ในกรณีที่เอกสารตามข้อ 58 จัดทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศผู้ขอจะต้องจัดทำคำแปลเอกสารดังกล่าวเป็นภาษาไทยด้วย

มีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับสิทธิขอนับวันยื่นคำขอดังกล่าว ดังต่อไปนี้

(ก)ผู้ขอที่จะขอสิทธิดังกล่าวนี้ได้จะต้องถือสัญชาติของประเทศที่ให้สิทธิในทำนองเดียวกันนี้กับบุคคลสัญชาติไทย ซึ่งรัฐมนตรีจะประกาศรายชื่อประเทศดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาเมื่อการติดต่อระหว่างไทยกับต่างประเทศนั้นๆได้ผลเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่ผู้ขอเป็นนิติบุคคล จะถือเอาสัญชาติของประเทศที่ตั้งสำนักงานเป็นสัญชาติของผู้ขอ

(ข)ถ้ามีผู้ขอมากกว่า 1 คน ในจำนวนขอเหล่านั้นจะต้องมีผุ้ขอที่มีสัญชาติของประเทศที่ให้สิทธิในทำนองเดียวกันนี้แก่บุคคลสัญชาติไทยอย่างน้อย 1 คน

(ค)การขอนับวันยื่นคำขอในต่างประเทศเป็นครั้งแรกเป็นวันยื่นคำขอในไทยนี้จะมีลักษณะเดียวกับเรื่อง Priority Right ในต่างประเทศ คือจะนับวันยื่นคำขอในต่างประเทศเป็นครั้งแรกว่าเป็นเสมือนวันยื่นคำขอในไทยเฉพาะในกรณีพิจารณาความใหม่เท่านั้น (คือไม่นำเอาเอกสารใดๆที่แสดงถึงการประดิษฐ์ หรือการออกแบบฯ ที่ปรากฎขึ้น ในระหว่างวันยื่นคำขอในต่างประเทศเป็นครั้งแรกและวันยื่นคำขอในไทยมาพิจารณาเป็นงานที่ปรากฎอยู่แล้วของคำขอรับสิทธิบัตรที่ยื่นในไทยดังกล่าว)

หนังสือรับรองการฝากเก็บจุลชีพ เป็นหนังสือรับรองการฝากเก็บจุลชีพที่ออกให้โดยสถาบันรับฝากเก็บจุลชีพ สำหรับการประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับจุลชีพใหม่และไม่อาจบรรยายให้ผู้ชำนาญการในระดับสามัญเข้าใจรายละเอียดของจุลชีพนี้ได้ หรือเป็นจุลชีพที่หาได้ยาก ซึ่งนอกจากผู้ขอจะต้องระบุรายละเอียดการฝากเก็บจุลชีพตามข้อ 7 ในแบบพิมพ์ สป/สผ/001-ก แล้ว ยังต้องส่งใบรับรองจากสถาบันการฝากเก็บที่รับฝากไว้มาพร้อมคำขอรับสิทธิบัตร โดยในใบรับรองนี้ควรต้องบรรยายรายละเอียด หรือลักษณะของจุลชีพดังกล่าวนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในแบบพิมพ์ดังกล่าวด้วยแต่ผู้ขอก็อาจขอผ่อนผันการนำส่งหนังสือรับรองนี้ได้ 90 วัน (ตัวอย่างหนังสือรับรองการฝากเก็บจุลชีพ-เอกสารประกอบ 5) (กฎ ฉ.13 ข้อ 2 วรรคสาม)

สถาบันการฝากเก็บนี้จะต้องเป็นสถาบันตามที่อธิบดีกำหนดด้วย (ป.ฉ.3 (พ.ศ. 2535))

การประดิษฐ์

ดังได้กล่าวไว้ในข้อ 43 คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ นอกจากจะประกอบด้วยแบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรและเอกสารประกอบคำขอแล้วยังประกอบไปด้วย (กฎ ฉ.13 (พ.ศ. 2535) ข้อ 2)

(ก) รายละเอียดการประดิษฐ์

  • รายละเอียดการประดิษฐ์
  • ข้อถือสิทธิ
  • บทสรุปการประดิษฐ์
  • รูปเขียน (ถ้ามี)   

                                 คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิขอรับสิทธิบัตร



Form PI/PD/001-A (Add)

Statement of Applicant’s Right Apply For a Patent

Place……………………..

Date………………………

To: The Director-General, Department of Intellectual Property

I (We) …………………….............................................................................

(Name)

of …………………….............................................................................and

(Address)

……………………........................................................................................

(Name)

of …………………….............................................................................and

(Address)

…………………….......................................................................................

(Name)

of …………………….............................................................................and

(Address)

do hereby state and confirm my (our) rights in the invention/design entitle:

…………………….......................................................................................

for which I (we) apply for a patent as follows:

1.      1.      That I (we) am (are) the true inventor (s)/creator (s) of the invention/design.

2.      2.      That no other person or body has any rights to the invention/design.

3.      3.      That the right to the invention/design has not been assigned to any other person.

4.      4.      That all the statements contained above and the facts contained in the application are to the best of my knowledge true and accurate.

Signature (s)………………………………………….
(………………………………………….)

Signature (s)………………………………………….
(………………………………………….)

Signature (s)………………………………………….
(………………………………………….)

Notes: 1. This from must be used in cases where the applicant is the inventor/creator.

2. This statement must be filed together with the application.


เอกสารประกอบ 
3

แบบ สป/สผ/001-ก ()

(ตราครุฑ)

คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิขอรับสิทธิบัตร

เขียนที่............................

วันที่............................

เรียน อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ข้าพเจ้า......................................................................................................

ที่อยู่.................................................................................................….และ

ข้าพเจ้า......................................................................................................

ที่อยู่.................................................................................................….

ขอรับรองและยืนยันเกี่ยวกับสิทธิของข้าพเจ้าในการประดิษฐ์/การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ (ระบุการประดิษฐ์/การออกแบบผลิตภัณฑ์).....................................

ซึ่งข้าพเจ้าขอรับสิทธิบัตรดังนี้

1. ข้าพเจ้าเป็นผู้ประดิษฐ์/ออกแบบสิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว

2. ไม่มีบุคคลหรือหน่วยงานใดมีสิทธิขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์/การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตร

3. ข้าพเจ้ายังไม่ได้โอนสิทธิในการประดิษฐ์/การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรให้แก่บุคคลอื่นใด

4. รายละเอียดต่างๆที่ข้าพเจ้าระบุถึงในคำขอรับรองนี้ ตลอดจนข้อเท็จจริงทั้งปวงที่ระบุในคำขอรับสิทธิบัตรถูกต้องและเป็นความจริงทุกประการ

(ลงชื่อ)............................................
(...........................................)

(ลงชื่อ)............................................
(...........................................)

หมายเหตุ 1. ให้ยื่นคำรับรองนี้ในกรณีที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรเป็นผู้ประดิษฐ์/หรือผู้ออกแบบเอง

2. ให้ยื่นคำรับรองนี้พร้อมกับคำรับรองสิทธิบัตร


PATENT OF INVENTION OR DESIGN-THAILAND

O.Z. 1692/55

DEED OF ASSIGNMENT

Date: 20th, December 1983

Title of Invention/Design

Blanching of Mushrooms

Assignor(S) :

-  Bengt Lennart BENGTSSON, of ASTERGANTAN 17, 267 00 bjuv, Sweden

-  Peter PALMLIN, of Jurirgatan 26A, 252 53 Halsingborg, Sweden

-  Jan  EKHOLM, of Paseo Isabel la Catolica 21, Valladolid, Spain

Assignee(S)

Frisco-Findus AG, Rorschach, Switzerland

            The Assignor(s) declare that I/we are the inventor(s) of the above-mentioned invention/design and for due consideration hereby assign the right to apply for and obtain patents thereof in Thailand to the Assignee(s) and the Assignee(s) hereby accept such assignment.

            In witness whereof, the Assignor(s) and Assignee(s) have signed their names below, effective on the date above.

ASSIGNOR(S): 

Bengt Lennart BENGTSSON             Peter PALMLIN                       Jan EKHOLM

Notarial Attestation:    I, the undersigned, notary public in and for the city of Helsingborg, Sweden, legalize the above signatures of Mr. Bengt L. Bengtsson and Mr. Palmlin

ASSIGNEE(S) : FRISCO-FINDUS AG          Goran Norrman           Arvode 60 kr.

Notarial attestation:


สิทธิบัตร
/การออกแบบผลิตภัณฑ์ประเทศไทย

โอ.แซด. 1692/55

หนังสือสัญญาโอน

วันที่ 22 ธันวาคม 1983

ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์/การออกแบบผลิตภัณฑ์

การทำเห็ดให้ขาว

ผู้โอน
เบงต์ เลนนาร์ท เบงท์สัน อยู่ที่แอสเตอร์กาตาน 17,267 00 บีจูฟประเทศสวีเดน
ปีเตอร์ พาล์มลิน อยู่ที่คูเรอร์กาตาน 26 เอ 252 53 เฮลซิงบอร์กประเทศสวีเดน
แจน เอคเฮล์ม อยู่ที่พาซีโอ อิซาเบล ลา คาโตลิคา 21, แวลลาโดลิดประเทศสเปน

ผู้รับโอน
ฟริสโก
-ฟินดัส เอยีอยู่ที่รอร์สชาคประเทศสวีเดน

ผู้โอนขอแสดงว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ประดิษฐ์การประดิษฐ์/การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างบนนี้และด้วยสิ่งตอบแทนอันเหมาะสมโดยหนังสือนี้โอนสิทธิ์ให้ยื่นคำขอรับสิทธิและให้ได้มาซึ่งสิทธิบัตรสำหรับสิ่งดังกล่าวมาแล้วนั้นในประเทศไทยให้แก่ผู้รับโอน และผู้รับโอนโดยหนังสือนี้ขอรับการโอนดังกล่าวนั้น

เพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งการนี้ ผู้โอนและผู้รับโอนได้ลงชื่อของตนไว้ข้างล่างนี้ ซึ่งมีผลในวันเดือนปีข้างบนนี้

ผู้โอน 
(ลงชื่อเบงต์ แอลเบงท์สัน  (ลงชื่อปีเตอร์ พาล์มลิน   (ลงชื่อแจน เอคเฮล์ม

                 เบงต์ เลนนาร์ท เบงท์สัน           ปีเตอร์ พาล์มลิน             แจน เอคเฮล์ม

การรับรองของโนตารี   ข้าพเจ้าผู้ลงชื่อข้างใต้นี้โนตารีบับลิคในและสำหรับนครเฮลซิงบอร์กประเทศสวีเดน ขอรับรองลายมือชื่อข้างบนนี้ของ มร.เบงต์ แอลเบงท์สัน และ มรปีเตอร์ พาล์มลิน 

เฮลซิงบอร์กวันที่ 22 ธันวาคม 1983

(ลงชื่อโกราน นอร์รแมน

อาร์โวด 60 โครเนอร์

ผู้รับโอน,      ฟริสโก-ฟินดัส เอยี                                  (ตราโนตารีบับลิค)

                                                    (ลงชื่อเอเลดเซียน

การรับรองของโนตารี

..........................................
รับรองคำแปลถูกต้อง

ผู้แปล(ลงชื่อ) ............................ ผู้รับมอบอำนาจ(ลงชื่อ)...........................                          (............................)                            (............................)

นายโฮเซ่ อันโตนิโอ เมตราโน และนายรุยซ์ เดล อารโบล โนตารีพับลิก แห่งสถาบันที่มีชื่อเสียงแห่งเมืองแวลลาโดลิด ผู้มีถิ่นพำนักอยู่ในเมืองนี้

            ขอรับรองว่า  ลายมือชื่อที่ปรากฎอยู่ข้างต้นนี้เป็นลายมือชื่อของนาย แจน เอคเฮล์ม ซึ่งข้าพเจ้าได้พิสูจน์แล้ว จากเอกสารมหายเลข 49 ออกให้โดยผู้ว่าราชการเมืองแวลลาโดลิด เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1983 และจะมีผลใช้บังคับตามกฎหมายถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1984 ขอรับรองว่าเอกสารซึ่งปรากฏอยู่นี้ เป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย

             แวลลาโดลิด, ณ วันที่ 30 มกราคม 1984

                 (ลงชื่อ)  เจ.เอ. เมดราโน

                  (ลงชื่อ) รุยส์ เดล อารโบล

นิติกรณ์เลขที่ 14616

ข้าพเจ้าผู้ลงชื่อข้างใต้นี้  เรอเน บุลเยียร์ด โนตารี อยู่ที่เวเว่ย์ (แคนตอน ออฟ โวด์, ประเทศสวิสเซอร์แลนด์) ขอรับรองความถูกต้องของลายมือชื่อที่ได้ลงไว้ตรงกันข้ามนี้ โดย  นายแอนด์รเซจ  เลดเซียน ผู้ลงชื่อที่มีอำนาจในฐานะเป็นหัวหน้าสำนักสิทธิบัตรของ ฟริสโก-ฟิดัล เอยี.

            เวเว่ย์, วันที่ สิบสาม มีนาคม หนึ่งพันเก้าร้อยแปดสิบสี่

 

(ตราโนตารี)                                                (ลงชื่อ)  อาร์. บุลเยียร

..........................................
รับรองคำแปลถูกต้อง 

ผู้แปล(ลงชื่อ) ............................ ผู้รับมอบอำนาจ(ลงชื่อ)...........................                          (............................)                            (............................)


Power of Attorney

O.Z. 1692/55

             We, Frisco-Findus AG., a Swiss body corporate of Rorschach, Switzerland.

hereby nominate and appoint : Mr. Geng-guard Sriratchada,

of: 10/22 Dinsor Road, Phranakorn, Bangkok 10200; THAILAND

to be our true and lawful agent and attorney for us and in our name to apply for and obtain in Thailand a Patent under the title:

Blanching of Mushrooms” 

to accept the assignment of inventions, designs, patents and patent applications and for the aforesaid purposes in our name  to sign and lodge all papers and writings whish he in his aforesaid capacity may deem necessary or desirable; to alter , amend and withdraw such applications and documents; to attend at Government Offices or elsewhere in Thailand:  to defend applications and patents from ejection, opposition or attack; to file notices of opposition and appeals; to pay all fees; and to appoint substitutes under him for the performance of any or all of the aforesaid acts, the same at pleasure to remove; and we hereby confirm and certify whatsoever our said agent or substitutes may lawfully dy by virtue of these presents.

                        Dated this 9th of February 1984.

FRISCO-FINDUS AG.

BY:………………………………………………

A.LEDZION, AUTHORIZED SIGNATORY

NOTARIAL CERTIFICATE No. 14537

            I, hereby certify that the above firm is a juristic person duly organized under the laws of Switzerland and that the signature above is that of Mr. Andriaci LEDZION.

(Name)

 Authorized Signatory

(Position)

who is duly authorized to sign on behalf of the above–mentioned firm.

Vevey, this ninth day of February one thousand nine hundred and eight four. Rene BULLIARD,

 (Seal)                                                                                      Notary Public at Vevey (Switzerland)

(คำแปล)

สิทธิบัตรการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์-ประเทศไทย

หนังสือมอบอำนาจ

โอ.แซด. 1692/55 

            ข้าพเจ้า ฟริสโก-ฟินดัส เอยี, อันเป็นบริษัทจำกัด สวิสส์ อยู่ที่ รอร์สชาค, ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  

โดยหนังสือฉบับนี้ขอมอบหมายและแต่งตั้งให้ นายเก่งกาจ ศรีรัชดา

แห่ง 10/22 ถ.ดินสอ, พระนคร, กทม.10200

ประเทศไทย   เป็นตัวแทนและผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้าอันแท้จริง และชอบด้วยกฎหมาย เพื่อข้าพเจ้าและในนามของข้าพเจ้าในประเทศไทย  ให้ยื่นขอรับสิทธิบัตรและให้ได้มาซึ่งสิทธิบัตรภายใต้ชื่อ 

การทำเห็ดให้ขาว 

ให้รับโอนการประดิษฐ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรและคำขอสิทธิบัตรต่างๆ และเพื่อความประสงค์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว มนนามของข้าพเจ้าให้ลงนามและยื่นบรรดาหนังสือและเอกสารทั้งมวลซึ่งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจในฐานะดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจคิดเห็นว่าเป็นการจำเป็นหรือพึงต้องการให้เปลี่ยนแปลง แก้ไข และเพิกถอนคำขอรับสิทธิบัตรและเอกสารต่างๆ เช่นว่ามานั้น ให้ไปปฏิบัติ ณ สถานที่ทำการรัฐบาล หรือ ณ ที่อื่นที่ใดในประเทศไทย ให้ต่อสู้หรือป้องกันคำขอและสิทธิบัตรให้พ้นจากการปฏิเสธ การคัดค้าน หรือการขัดขวางใดๆ ให้ยื่นคำร้องคัดค้านและคำอุทธรณ์ ให้ชำระค่าธรรมเนียมทั้งหลายทั้งปวง และให้แต่งตั้งตัวแทนช่วงภายใต้อำนาจของตัวแทนผู้รับมอบอำนาจ  เพื่อกระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด  หรือกระทำการทั้งมวลที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น และให้มีอำนาจยกเลิกการแต่งตั้งตัวแทนช่วงได้ตามอำเภอใจเช่นเดียวกัน และโดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าขอยืนยันและให้สัตยาบันรับรองทุกสิ่งทุกอย่างที่ตัวแทนดังล่าวของข้าพเจ้า หรือตัวแทนช่วงอาจะได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายอาศัยอำนาจแห่งหนังสือนี้  

ลงวันที่ ณ วันที่นี้ 9 เดือนกุมภาพันธ์ 1984

ฟริสโก-ฟินดัส เอยี

โดย (ลงชื่อ) เอ. เลดเซียน

เอ. เลดเซียน , ผู้ลงชื่อที่มีอำนาจ

หนังสือรับรองของโนตารี เลขที่  14537

ข้าพเจ้าขอรับรองโดยหนังสือนี้ว่า บริษัทข้างบนนี้เป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายแห่งประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และลายมือชื่อข้างต้นนี้เป็นลายเซ็นของ มร. แอนด์เซจ เลดเซียน  

ตำแหน่ง ผู้ลงชื่อที่มีอำนาจ ซึ่งมอบอำนาจโดยถูกต้องในการลงชื่อในนามของบริษัท ดังที่ได้กล่าวนามมาแล้วข้างต้น

เวเซ่ย์ ณ วันนี้ ที่ เก้า เดือนกุมภาพันธ์ หนึ่งพันเก้าร้อยแปดสิบสี่

(ตราโนตารี)                                                                          เรอเน  บุลเยียร์ด

                                                        (ลงชื่อ) อาร์ บุลเยียร์ด

                                               โนตารีพับลิก อยู่ที่เวเว่ย์ (ประเทศสวิสเซอร์แลนด์)

 ..........................................
รับรองคำแปลถูกต้อง

ผู้แปล(ลงชื่อ) ............................ ผู้รับมอบอำนาจ(ลงชื่อ)...........................                          (............................)                            (............................)


เครื่องหมายการค้า

“เครื่องหมาย” หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างนี้อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างรวมกัน แต่ไม่หมายความรวมถึงแบบผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร

“เครื่องหมายการค้า” หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น

“เครื่องหมายรับรอง” หมายความว่า เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพคุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น

“เครื่องหมายร่วม” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้จากเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ได้จดทะเบียนแล้ว ให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการนั้น

การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

มาตรา 6 เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

(1) เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

(2) เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตารมพระราชบัญญัตินี้ และ

(3) ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว

มาตรา 7 เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น

เครื่องหมายการค้าที่ประกอบด้วยลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ

(1) ชื่อตัว,ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อนิติ-บุคคล หรือชื่อในทางการค้า ซึ่งแสดงโดยในลักษณะพิเศษ

(2) คำหรือข้อความ อันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(3) ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำ ที่ประดิษฐ์ขึ้น

(4) ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียนหรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว

(5) ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้วหรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้ว โดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น ถ้ามี แล้ว

(6) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น

ชื่อ คำ หรือข้อความไม่มีลักษณะตาม (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและพิสูจน์ได้ว่าปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ถือให้ว่าลักษณะบ่งเฉพาะ

มาตรา 8 เครื่องหมายการค้าที่ประกอบด้วยลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ห้ามมิให้รับจดทะเบียน

(1) ตราแผ่นดิน เครื่องหมายราชการ ธงพระอิสริยยศ ธงราชการ หรือธงชาติของประเทศไทย

(2) เครื่องหมายประจำชาติหรือธงชาติของรัฐต่างประเทศ เครื่องหมายหรือธงขององศ์การระหว่างประเทศไทยเป็นสมาชิกหรือเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไป เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศนั้น

(3) พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อ หรือพระนามาภิไธยย่อ

(4) พระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินีหรือรัชทายาท

(5) พระราชลัญจกร ลัญจกรในราชการ หรือตราประจำตำแหน่ง

(6) ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์

(7) เครื่องหมายกาชาด นามกาชาด หรือกาชาดเจนีวา

(8) เครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรอง ประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายอื่นใด อันได้ให้เป็นรางวัลในการแสดงหรือประกวดสินค้าที่รัฐบาลไทย ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ของประเทศไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ ได้จัดให้มีขึ้นเว้นแต่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้รับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรอง ประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายเช่นว่านั้น เป็นรางวัลสำหรับสินค้านั้น และใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายทางการค้านั้น

(9) เครื่องหมายที่คล้ายกับ (1) (2) (3) (5) (6) หรือ (7)

(10) เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสน์โนบาย

(11)เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปหรือคล้ายกับเครื่องหมายดังกล่าวจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าไม่ว่าจะได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม

(12)เครื่องหมายอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

มาตรา 10 เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้นั้น ผู้ขอจดทะเบียนเพื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นหรือตัวแทน ต้องมีสำนักงานหรือสถานที่ที่นายทะเบียนสามารถติดต่อได้ตั้งอยู่ในประเทศไทย

ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จะมอบอำนาจให้เราเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจดทะเบียนแทนท่าน ต้องนำหลักฐานเอกสารดังต่อไปนี้

ต้องแนบบัตรประจำตัวประกอบคำขอ

(1)ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา อาจใช้ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นๆที่ทางราชการออกให้ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทางก็ให้

(2)ถ้าเป็นนิติบุคคล ให้ใช้หนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน โดยมีคำรับรองของผู้มีอำนาจให้คำรับรองตามกฎหมายไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองนั้นเว้นแต่ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งได้ส่งเอกสารตามข้อ 5 โดยมีการระบุข้อความรับรองการเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศไว้ด้วยแล้ว

ข้อ 4 การยื่นคำขอที่กระทำโดยตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจ ให้แนบภาพถ่ายหนังสือตั้งตัวแทนหรือหนังสือมอบอำนาจ และบัตรประจำตัวของตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจมาพร้อมกันด้วย

ข้อ 5 ในกรณีที่การตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจนั้นได้กระทำในต่างประเทศหนังสือตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจนั้นต้องมีคำรับรองลายมือชื่อโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศที่ผู้ตั้งตัวแทนหรือผู้มอบอำนาจมีถิ่นที่อยู่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือมีคำรับรองของบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้น ให้มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ

ในกรณีที่หนังสือตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งได้กระทำในประเทศไทยโดยผู้ตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจมิได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ต้องส่งภาพถ่ายหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ชั่วคราว หรือหลักฐานอื่นที่แสดงให้นายทะเบียนเห็นว่าในขณะตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจ ผู้นั้นได้เข้ามาในประเทศไทยจริงด้วย

ข้อ 6 การส่งต้นฉบับเอกสารประกอบคำขอ หากเป็นการยื่นคำขอของผู้ขอรายเดียวกันพร้อมกันหลายคำขอ เอกสารประกอบคำขอแรกต้องเป็นต้นฉบับเอกสาร ส่วนคำขออื่นๆให้ส่งภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวโดยระบุว่าต้นฉบับเอกสารอยู่ในคำขอเลขที่ใด

ข้อ 7 การส่งสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารประกอบคำขอ ผู้ขอต้องรับรองความถูกของสำเนาหรือภาพถ่ายนั้นด้วย

ข้อ 8 การส่งเอกสารประกอบคำขอที่เป็นภาษาต่างประเทศ ผู้ขอต้องจัดให้มีคำแปลเป็นภาษาไทย โดยมีคำรับรองของผู้แปลด้วยว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้อง

ประกาศกระทรวงพาณิชย์

ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2535)

เรื่อง การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามาตรา 7 วรรค 3

แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

-------------------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 7 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

การพิสูจน์ในลักษณะบ่งเฉพาะโดยการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้า หรือบริการที่ใช้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วม จนแพร่หลายแล้วตามมาตรา 7 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1.สินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นได้มีการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาจนทำให้สาธารณชนในประเทศที่มีการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าหรือบริการนั้นรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าบริการดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าหรือบริการอื่น

2.การจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าหรือบริการใดจนทำให้เครื่องหมายมีความแพร่หลาย ให้ถือว่าเครื่องหมายมีลักษณะบ่งเฉพาะเพียงที่ใช้กับสินค้าหรือบริการนั้นเท่านั้น

3.ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตาม 1. และ 2. ให้ผู้ขอจดทะเบียนนำส่งพยานหลักฐานเกี่ยวกับการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายที่ประสงค์จะขอจดทะเบียน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ตัวอย่างสินค้า ใบโฆษณาสินค้า หรือพยานหลักฐานอื่นๆรวมทั้งพยานบุคคล (ถ้ามี) เป็นต้น

4.ในการส่งหลักฐานตาม 3. ให้ผู้ขอจดทะเบียนส่งหลักฐานพร้อมการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมาย ในกรณีที่ไม่อาจกระทำได้ ให้ผู้ขอจดทะเบียนทำหนังสือขอผ่อนผันแนบมาพร้อมคำขอจดทะเบียน และให้นายทะเบียนมีอำนาจผ่อนผันได้ไม่เกิน 30 วัน ถ้าผู้ขอจดทะเบียนมิให้ส่งหลักฐานใดภายในกำหนดเวลาที่นายทะเบียนผ่อนผัน ให้นายทะเบียนพิจารณาดำเนินการแก่คำขอจดทะเบียนนั้นต่อไป โดยรับฟังข้อเท็จจริงเพียงเฉพาะหลักฐานเท่าที่ผู้ขอจดทะเบียนได้นำส่งให้แก่นายทะเบียนไว้ (ถ้ามี)

ประกาศไว้ ณ วันที่ 22 มกราคม 2535

 อมเรศ ศิลาอ่อน

(นายอมเรศ ศิลาอ่อน)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ค่าบริการของเรา เครื่องหมายการค้าแต่ละคำขอมีสินค้าหรือบริการ อย่างละ 500 บาทหรือ 12.05 $ จำพวกสินค้าหรือบริการหนึ่งจำพวกมีสินค้าหรือบริการหลายอย่างสินค้าหรือบริการอย่างละ 500 บาท/12.5 $ 

เมื่อยื่นคำขอ ค่าธรรมเนียมเมื่อรับจดทะเบียนสินค้าหรือบริการอย่างละ 300 บาท/7.05$ ค่าบริการเป็นตัวแทนจดทะเบียนของเราเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ 1 คำขอ เราคิด 7,000 บาท / 175 $ สิทธิบัตรเราคิดค่าบริการหนึ่งคำขอรวมเป็นเงิน 20,000 บาท / 500 $